(เรียนชดเชย วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2559 )
เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
1. ความหมายของวิทยาศาสตร์
กระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้จึงได้ความรู้ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์
2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต
-กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบ
-ผลผลิต หมายถึง สิ่งที่ปรากฏขึ้นหลังจากที่ได้ทำการทดลอง หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้ว
กิจกรรมวิทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิต จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเสมอ เพราะว่าเมื่อครูจัดเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูก็จะต้องเฝ้าสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก (กระบวนการ) และเมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูก็จะต้องดูผลงานของเด็ก (ผลผลิต)
3. แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เกรก (Graig) ได้ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ 5 ประการที่เรียกว่า Graig's Basic Concepts มีลักษณะรวมที่สำคัญ 5 ประการ คือ
- การเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงควรให้เด็กและเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา สิ่งที่อยู่รอบตัว
-. ความแตกต่าง (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยอาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว
- การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆ
- การพึ่งพาอาศัยกัน (Muturit) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย
- ความสมดุล (Equitibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องสู้เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืนกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ
แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 ประการนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของ วิชาและให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตามธรรมชาติ
4. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
-การเรียนรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมกัน
-การทำให้เด็กการคิด เพื่อให้เส้นใยประสาทเชื่อมต่อกันในเซลล์ต่างๆ
อุปสรรคการเรียนรู้
ไม่ได้เรียนรู้ เรียนรู้ผิด
(ใยประสาทและจุดเชื่อมโยงหายไป) (ใยประสาทของวงจรการเรียนรู้ผิดหนาตัวขึ้น)
(1) มีความอยากรู้อยากเห็น
6. เจตคติทางวิทยาศาสตร์มี 6 ประการ ดังนี้
- มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ที่มีอยู่เดิม
- ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม
- ช่างซัก ช่างถาม ช่างอ่าน เพื่อให้ได้คำตอบเป็นความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
- ให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในชีวิตประจำวัน
(2) มีใจกว้าง
- ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ และยินดีให้มีการพิสูจน์ตามเหตุผลและข้อเท็จจริง
- เต็มใจที่จะรับรู้ความคิดใหม่ๆ
- เต็มใจที่จะเผยแพร่ความรู้และความคิดเห็นแก่ผู้อื่น
- ตระหนักและยอมรับข้อจำกัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน
(3) มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
- สังเกตและบันทึกผลต่างๆโดยปราศจากความลำเอียงหรืออคติ
- ไม่นำสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมาเกี่ยวข้องกับการตีความหมายผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
- ไม่ยอมให้ความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัวมามีอิทธิพลเหนือการตัดสินใดๆ
- มีความมั่นคง หนักแน่น ต่อผลที่ได้จากการพิสูจน์
- เป็นผู้ซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ
(4) มีความเพียรพยายาม
- ทำกิจการงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์
- ไม่ท้อถอย เมื่อการทดลองมีอุปสรรคหรือล้มเหลว
- มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการเสาะแสวงหาความรู้
(5) มีเหตุผล
- เชื่อในความสำคัญของเหตุผล
- ไม่เชื่อโชคลาง คำทำนาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้
- แสวงหาสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุนั้นกับผลที่เกิดขึ้นได้
- ต้องการที่จะรู้ปรากฏการณ์ต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
(6) มีความละเอียดรอบคอบก่อนการตัดสินใจ
- ใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ
- ไม่ยอมรับสิ่งใดว่าเป็นความจริงทันที ถ้ายังไม่มีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้
- หลีกเลี่ยงการตัดสินใจและการสรุปที่รวดเร็วเกินไป
วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการ พัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
กระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้จึงได้ความรู้ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์
2. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต
-กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบ
-ผลผลิต หมายถึง สิ่งที่ปรากฏขึ้นหลังจากที่ได้ทำการทดลอง หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้ว
กิจกรรมวิทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิต จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเสมอ เพราะว่าเมื่อครูจัดเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูก็จะต้องเฝ้าสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก (กระบวนการ) และเมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูก็จะต้องดูผลงานของเด็ก (ผลผลิต)
3. แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เกรก (Graig) ได้ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ 5 ประการที่เรียกว่า Graig's Basic Concepts มีลักษณะรวมที่สำคัญ 5 ประการ คือ
- การเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงควรให้เด็กและเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา สิ่งที่อยู่รอบตัว
-. ความแตกต่าง (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยอาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว
- การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆ
- การพึ่งพาอาศัยกัน (Muturit) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย
- ความสมดุล (Equitibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องสู้เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืนกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ
แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 ประการนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของ วิชาและให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตามธรรมชาติ
4. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการหาความรู้ ทั้งนี้อาจมีความแตกต่างกันบ้างใน แต่ละสาขา แต่ในภาพรวมมีลักษณะคล้ายกัน สรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
เมื่อพิจารณาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา สามารถระบุเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
- ขั้นที่ 1 การสังเกต หมายถึง การสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส รวมถึงเครื่องมือช่วยขยายความสามารถของประสาทสัมผัส และมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ได้อย่างเป็นระบบ
- ขั้นที่ 2 การตั้งสมมุติฐาน หมายถึง การคาดคะเนล่วงหน้าของคำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบ ทั้งนี้การตั้งสมมุติฐานเกิดจากการนำข้อมูลที่มาจากการสังเกตมาเป็นส่วนช่วย
- ขั้นที่ 3 การทดลอง หมายถึง การดำเนินการตรวจสอบสมมุติฐาน โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งจากการสำรวจ การทดลอง หรือวิธีการอื่นๆ ประกอบกัน
- ขั้นที่ 4 การสรุปผลการทดลอง หมายถึง การลงข้อสรุปจากผลการทดลอง ตรวจสอบผลจากการสรุป อาจเป็นส่วนที่ทำให้เกิดหลักการ กฎ ทฤษฎี และสามารถแสดงความสัมพันธ์
- ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา
- ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา
- ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน
- ขั้นที่ 4 สังเกตรวบรวมผล และ/หรือการทดลอง
- ขั้นที่ 5 สรุปผลการสังเกต และ/หรือการทดลอง
-การเรียนรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมกัน
-การทำให้เด็กการคิด เพื่อให้เส้นใยประสาทเชื่อมต่อกันในเซลล์ต่างๆ
อุปสรรคการเรียนรู้
ไม่ได้เรียนรู้ เรียนรู้ผิด
(ใยประสาทและจุดเชื่อมโยงหายไป) (ใยประสาทของวงจรการเรียนรู้ผิดหนาตัวขึ้น)
(1) มีความอยากรู้อยากเห็น
6. เจตคติทางวิทยาศาสตร์มี 6 ประการ ดังนี้
- มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ที่มีอยู่เดิม
- ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม
- ช่างซัก ช่างถาม ช่างอ่าน เพื่อให้ได้คำตอบเป็นความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
- ให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในชีวิตประจำวัน
(2) มีใจกว้าง
- ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ และยินดีให้มีการพิสูจน์ตามเหตุผลและข้อเท็จจริง
- เต็มใจที่จะรับรู้ความคิดใหม่ๆ
- เต็มใจที่จะเผยแพร่ความรู้และความคิดเห็นแก่ผู้อื่น
- ตระหนักและยอมรับข้อจำกัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน
(3) มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
- สังเกตและบันทึกผลต่างๆโดยปราศจากความลำเอียงหรืออคติ
- ไม่นำสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมาเกี่ยวข้องกับการตีความหมายผลงานต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
- ไม่ยอมให้ความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัวมามีอิทธิพลเหนือการตัดสินใดๆ
- มีความมั่นคง หนักแน่น ต่อผลที่ได้จากการพิสูจน์
- เป็นผู้ซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ
(4) มีความเพียรพยายาม
- ทำกิจการงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์
- ไม่ท้อถอย เมื่อการทดลองมีอุปสรรคหรือล้มเหลว
- มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการเสาะแสวงหาความรู้
(5) มีเหตุผล
- เชื่อในความสำคัญของเหตุผล
- ไม่เชื่อโชคลาง คำทำนาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้
- แสวงหาสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุนั้นกับผลที่เกิดขึ้นได้
- ต้องการที่จะรู้ปรากฏการณ์ต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
(6) มีความละเอียดรอบคอบก่อนการตัดสินใจ
- ใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใดๆ
- ไม่ยอมรับสิ่งใดว่าเป็นความจริงทันที ถ้ายังไม่มีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้
- หลีกเลี่ยงการตัดสินใจและการสรุปที่รวดเร็วเกินไป
7. ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการ พัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
- วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
- วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
- วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
- วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
- วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
- วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
- วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
วิทยาศาสตร์ ช่วยในการดำรงชีวิตของเรา สามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตของมนุษย์ พัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ เสริมสร้างประสบการณ์
** การเล่นคือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก **
คำศัพท์
The experience = การจัดประสบการณ์
science = วิทยาศาสตร์
early childhood = เด็กปฐมวัย
concept = เเนวคิด
Equitibrium = ความสมดุล
คำศัพท์
The experience = การจัดประสบการณ์
science = วิทยาศาสตร์
early childhood = เด็กปฐมวัย
concept = เเนวคิด
Equitibrium = ความสมดุล
การนำมาประยุกต์ใช้
นำข้อมูลเนื้อหามาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้
บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาตั้งใจฟังเนื้อหาที่อาจารย์สอน
การจัดการเรียนการสอน
มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เล่นโทรสับบ้างบางครั้ง ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
ประเมินเพื่อน
มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์
แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น