เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ทบทวนบทเรียนจากสัปดาห์ที่แล้ว
* การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการลงมือกระทำและการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ *
ต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษาส่งของเล่นงานกลุ่มที่เหลือพร้อมให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
รางลาดเอียง
เป็นการไหลลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก หากลาดเอียงมากลูกแก้วก็จะไหลรวดเร็วมากขึ้น อาจารย์แนะนำว่า รางลาดเอียงสามารถเปลี่ยนทิศทางการลาดเอียงเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในของ เล่นชิ้นนี้มากขึ้น
เป่าลมเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ
เพื่อเราเป่าลมเข้าไปในถุงถุงก็จะพองแล้วเกิดเป็นรูปต่าง ๆ ที่เราทำไว้
ลูกแก้วลาดเอียง
สามารถลาดเอียงได้ด้วยตนเองตามความต้องการของเรา
การสอนแบบบรูณาการ คือ การเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ของหลายๆวิชาเข้าด้วยกัน โดยผ่านหน่วยที่เราเลือก ครูควรจัดกิจกรรมที่เสริมประสบการณ์เด็ก โดยยึดหลักให้เด็กได้ทำอย่างอิสระ โดยมีครูคอยอำนวยความสะดวกให้กับเด็ก
กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อคิดหน่วยการสอนที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อทำ Mind Map ในหน่วยที่เราเลือก
กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ
กลุ่มที่ 2 หน่วยต้นไม้
กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
กลุ่มที่ 4 หน่วยปลา
กลุ่มที่ 5 หน่วยไข่
กลุ่มที่ 6 หน่วยดอกไม้
กลุ่มที่ 7 หน่วยอากาศรอบตัวฉัน
คำศัพท์
- The unit = หน่วยการเรียนรู้
- Connection = การเชื่อมโยง
- fruit = ผลไม้
- integration = บูรณาการ
- modify = เเก้ไข
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
- ทักษะการคิด
- ทักษะการออกแบบ
การนำมาประยุกต์ใช้
- นำไปคิดรูปแแบบการสอนให้กับเด็กๆได้ในอนาคต
บรรยากาศในห้องเรียน
- ทุกคนร่วมกันทำกิจกรรม บรรยากาศไม่เคร่งเครียดมากเท่าไหร่
การจัดการเรียนการสอน
- มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น