สรุปวิจัย
เรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้เเต่ง : ณัฐชุดา สาครเจริญ
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
- เพื่อศึกษาระดับพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- เพื่อจัดให้เด็กได้รับการจัดกิจกรรมในรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ความสำคัญของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครู ในการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยการนำกระบวนวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษา ตามแนวการปฏิรูปการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพที่ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านต่างๆได้
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เด็กนักนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนสามเสนนอก ประชาราษฎร์อนุกูล สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรอิสระได้แก่ รูปแบบกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- ตัวแปรตามได้แก่ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 6 ดังนี้
1 การสังเกต
2 การจำแนก
3 การวัด
4 การมิติสัมพันธ์
5 การสื่อสาร
6 การลงความเห็น
เนื้อหา
ศิลปะช่วยให้เด็กเชื่อมสารบูรณาการประสบการณ์ที่มี เด็กสามารถผสมผสานความรู้วิทยาศาสตร์ลงไปในศิลปะที่เด็กแสดงออก การนำวิธีการสอนทางวิทยาศาสตร์มาสอดแทรกในการเรียนระดับปฐมวัยจะส่งเสริมให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ และศึกษาสิ่งต่างๆด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้กระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เกิดขึ้นอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- ขั้นการกระตุ้นการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้คิดสื่อที่ใช้ประกอบคำถามเช่น นิทาน ภาพ เกม เพื่อจูงใจสร้างความสนใจให้กับเด็ก โดยให้เด็กตอบคำถามอย่างอิสระ คำถามที่ครูใช้ถามประกอบสื่อจะเป็นคำถามปลายเปิดที่ใช้คำถามว่าอย่างไร ทำไม เพราะเหตุใด
- ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้หน่วยเครื่องนอน คำถามที่ใช้คือ เครื่องนอนเด็กๆเห็นมีอะไรบ้าง นอกจากนี้เครื่องนอนที่เห็นที่บ้านของนักเรียนมีเครื่องนอนอะไรบ้าง
- ขั้นกรองสู่มโนทัศน์ เป็นกิจกรรมที่ครูกระตุ้นให้เด็กสะท้อนการคิดด้วยการโยงข้อความรู้และความเข้าใจให้มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ครูต้องใช้คำถามกระตุ้นโดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะที่ทำกับการสอนวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเกิดมโนทัศน์ คือ วิธีสอนที่ใช้เกม
- ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้หน่วยหมู่อาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยวหมู พิซซ่า ข้าวไข่เจียว มาให้เด็กจำแนกตับใส่ภาชนะไปวางบนแผ่นชาร์ท จำแนกหมูอาหาร
- นำสู่งานศิลปะ เป็นกิจกรรมที่เด็กได้นำมโนทัศน์หรือความรู้ที่ได้ถ่ายโยงความรู้สู่งานศิลปะตามรูปแบบงานศิลปะที่คุณเลือกว่าเหมาะสมกับสิ่งที่คุณเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงและได้แสดงออกถึงความคิดจินตนาการที่เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ตัวอย่างเช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยไข่เด็กศิลปะเปลี่ยนแบบ โดยการนำเปลือกไข่ที่เรียนหรือสิ่งที่เรียนมาประดิษฐ์เปลี่ยนแบบ
- สาระที่เรียนรู้ เด็กจะสรุปมโนทัศน์ที่ได้จากการดำเนินการทั้ง 3 ขั้นที่ผ่านมา โดยครูกับเด็กสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งครูมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เด็กได้เล่าอธิบายจากชิ้นงานศิลปะ เช่น ภาพวาด งานประดิษฐ์ งานปั้น เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจมโนทัศน์ในสิ่งที่เรียน
- ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้หน่วยหมู่อาหาร ครูสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามจากงานศิลปะ เส้นศิลปะที่เด็กวาดอยู่ใช้หมู่อาหารใดบ้าง ศิลปะใครมีอาหารครบ 5 หมู่
สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปแบบการใช้ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
ผลการวิจัย
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สิ้นสุดการสนทนาผ่านแชท
สิ้นสุดการสนทนาผ่านแชท
เด็กนักนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนสามเสนนอก ประชาราษฎร์อนุกูล สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
สิ้นสุดการสนทนาผ่านแชท