วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หน่วย ดอกไม้

หน่วย  ดอกไม้


รายบคุคล







รายกลุ่ม





สรุปวิจัย

สรุปวิจัย
เรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ผู้เเต่ง : ณัฐชุดา  สาครเจริญ

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
- เพื่อศึกษาระดับพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- เพื่อจัดให้เด็กได้รับการจัดกิจกรรมในรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ความสำคัญของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครู ในการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยการนำกระบวนวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่เด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษา ตามแนวการปฏิรูปการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพที่ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านต่างๆได้

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เด็กนักนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนสามเสนนอก ประชาราษฎร์อนุกูล สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรอิสระได้แก่ รูปแบบกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- ตัวแปรตามได้แก่ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 6 ดังนี้
1 การสังเกต
2 การจำแนก
3 การวัด
4 การมิติสัมพันธ์
5 การสื่อสาร
6 การลงความเห็น

เนื้อหา
ศิลปะช่วยให้เด็กเชื่อมสารบูรณาการประสบการณ์ที่มี เด็กสามารถผสมผสานความรู้วิทยาศาสตร์ลงไปในศิลปะที่เด็กแสดงออก การนำวิธีการสอนทางวิทยาศาสตร์มาสอดแทรกในการเรียนระดับปฐมวัยจะส่งเสริมให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ และศึกษาสิ่งต่างๆด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้กระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เกิดขึ้นอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ

การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
- ขั้นการกระตุ้นการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้คิดสื่อที่ใช้ประกอบคำถามเช่น นิทาน ภาพ เกม เพื่อจูงใจสร้างความสนใจให้กับเด็ก โดยให้เด็กตอบคำถามอย่างอิสระ คำถามที่ครูใช้ถามประกอบสื่อจะเป็นคำถามปลายเปิดที่ใช้คำถามว่าอย่างไร ทำไม เพราะเหตุใด
- ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้หน่วยเครื่องนอน คำถามที่ใช้คือ เครื่องนอนเด็กๆเห็นมีอะไรบ้าง นอกจากนี้เครื่องนอนที่เห็นที่บ้านของนักเรียนมีเครื่องนอนอะไรบ้าง
- ขั้นกรองสู่มโนทัศน์ เป็นกิจกรรมที่ครูกระตุ้นให้เด็กสะท้อนการคิดด้วยการโยงข้อความรู้และความเข้าใจให้มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ครูต้องใช้คำถามกระตุ้นโดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะที่ทำกับการสอนวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเกิดมโนทัศน์ คือ วิธีสอนที่ใช้เกม
- ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้หน่วยหมู่อาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยวหมู พิซซ่า ข้าวไข่เจียว มาให้เด็กจำแนกตับใส่ภาชนะไปวางบนแผ่นชาร์ท จำแนกหมูอาหาร
- นำสู่งานศิลปะ เป็นกิจกรรมที่เด็กได้นำมโนทัศน์หรือความรู้ที่ได้ถ่ายโยงความรู้สู่งานศิลปะตามรูปแบบงานศิลปะที่คุณเลือกว่าเหมาะสมกับสิ่งที่คุณเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงและได้แสดงออกถึงความคิดจินตนาการที่เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ตัวอย่างเช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หน่วยไข่เด็กศิลปะเปลี่ยนแบบ โดยการนำเปลือกไข่ที่เรียนหรือสิ่งที่เรียนมาประดิษฐ์เปลี่ยนแบบ
- สาระที่เรียนรู้ เด็กจะสรุปมโนทัศน์ที่ได้จากการดำเนินการทั้ง 3 ขั้นที่ผ่านมา โดยครูกับเด็กสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งครูมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เด็กได้เล่าอธิบายจากชิ้นงานศิลปะ เช่น ภาพวาด งานประดิษฐ์ งานปั้น เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจมโนทัศน์ในสิ่งที่เรียน
- ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้หน่วยหมู่อาหาร ครูสนทนากับเด็กโดยใช้คำถามจากงานศิลปะ เส้นศิลปะที่เด็กวาดอยู่ใช้หมู่อาหารใดบ้าง ศิลปะใครมีอาหารครบ 5 หมู่

สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปแบบการใช้ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

ผลการวิจัย
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


สิ้นสุดการสนทนาผ่านแชท








สิ้นสุดการสนทนาผ่านแชท





เด็กนักนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนสามเสนนอก ประชาราษฎร์อนุกูล สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
สิ้นสุดการสนทนาผ่านแชท

สรุปบทความ

สรุปบทความ
สอนเด็กอนุบาลด้วยนิทาน สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชา”ตามเด็กปฐมวัย..เรียนรู้วิทย์
จากไก่และเป็ด


        
            คุณครูลาพรรณี มืดขุนทด ครูแกนนำวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัยของ สสวท. และคุณครูไพรวัลย์ ภิญโญทรัพย์ ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านหนองผือจาเริญพัฒนา อาเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก คุณครูปลูกฝังให้เด็กๆ รักการอ่านและแก้ไขพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ทิ้งขยะไม่ถูกที่ งอแง ขาดระเบียบวินัย กินขนมลูกอมใส่สี ฯลฯ ด้วยนิทาน นักเรียนชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 ที่คุณครูสอนอยู่นั้นมีเด็กๆ ที่น้าหนักต่ากว่าเกณฑ์ และเด็กยากจนด้อยโอกาสจึงได้รับไข่จาก อบต. นาเพียง วันละ 2 ฟองต่อคน ต่อเนื่องกันนาน 3 เดือน เพื่อเพิ่มน้าหนักตัว ฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดของ อบต. นาเพียง นั้นอยู่อยู่ใกล้โรงเรียนนิดเดียว เดินข้ามรั้วโรงเรียนไปก็ถึง คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ สสวท. ผ่านนิทานเรื่อง “หนูไก่คนเก่ง” ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้าแต่งตัวเองได้ ทางานส่งครูได้ทันเวลา
            การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 
            ขั้นตอนแรกคือ ขั้นนำ เด็กได้ร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทาท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคาถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด

            ขั้นตอนที่สอง ขั้นสอน
ชวนเด็กตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น “อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ” หนูรู้ได้อย่างไร บอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด สารวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนาลูกไก่มาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกไก่ด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย โดยบอกรายละเอียดของลูกไก่ให้มากที่สุด และนาลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกเป็ด ด้วยตาเปล่าและแว่นขยายโดยบอกรายละเอียดของเป็ดให้มากที่สุด นอกจากนั้น คุณครูพาเด็ก ๆ ไปศึกษาหารู้ความรู้เพิ่มเติมจากฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดที่ อบต. นาเพียง ใกล้โรงเรียน และสังเกตรายละเอียดของไก่และเป็ด จากนั้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันนาเสนอผลงานผ่านภาพวาด และบันทึกคาพูดเด็กจากการสังเกต และเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและขนาดของไก่และเป็ดอย่างอิสระ
            ขั้นสุดท้าย คือ ขั้นสรุป เด็กนาเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคาตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ

            ประสบการณ์สาคัญที่เด็กๆ ได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ การแสดงความรู้สึกด้วยคาพูด การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง การสารวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด
            “จุดเด่นของกิจกรรมนี้คือใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตามแนวทางของ สสวท. ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ผลที่เกิดกับเด็ก คือ เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ ด้าน ได้รับประสบการณ์ตรง ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ด ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน รอคอย แบ่งปัน มีน้าใจต่อกัน” คุณครูลาพรรณีกล่าว

            นอกจากนิทาน เรื่องหนูไก่คนเก่งแล้ว คุณครูลาพรรณียังมีนิทานที่พัฒนาขึ้นเพื่อการเรียนรู้แบบบูรณาการ รวมทั้งหมด 14 เรื่องด้วยกัน อาทิ ลูกหมาแสนรู้ วัวน้อยแสนดี เสือจ๋า ไดโนเสาร์เพื่อนรัก กระต่ายน่ารัก นอกจากการ์ตูนเล่มแล้วยังทาเป็นแอนิเมชั่นบันทึกในแผ่น DVD ด้วย
            การจัดกิจกรรมบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เด็กปฐมวัย เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ไม่จาเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคาว่าวิทยาศาสตร์ในขณะที่ให้เด็กทากิจกรรม เพียงแต่ครูควรตระหนักว่ากิจกรรมที่จัดนั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้เด็ก และควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย
แหล่งที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/44168

การบันทึกครั้งที่ 17

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 



เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
       กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอวิธีการสอนของกลุ่มตนเองได้แก่ กลุ่ม หน่วยอากาศ , หน่วยยานพาหนะ , หน่วยดอกไม้ ที่ยังสอนไม่เสร็จเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา


วันอังคาร หน่วยอากาศ (คุณสมบัติของอากาศ)
ขั้นนำ  คือ  ร้องเพลง ลมพัด
ขั้นสอน  คือ  ทดลองใช้มือโดยการพัดเพื่อให้เกิดลม





วันพุธ หน่วยยานพาหนะ (ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่)
ขั้นนำ   คือ  ตั้งประเด็นปัญหา
ขั้นสอน  คือ  ให้เด็กๆแยก พาหนะ ว่าใช้อะไรในการเคลื่อนที่







วันศุกร์  หน่วย ดอกไม้  ( การแปรรูปดอกไม้ )
ขั้นนำ   คือ  เล่านิทาน
ขั้นสอน  คือ  ให้เด็กๆบีบดอกไม้ที่ครูเตรียมมาว่าเป็นสีอะไรเพื่อจะนำมาเป็นสีผสมอาหาร








คำศัพท์ 
  • Teaching plan = แผนการสอน
  • connect = เชื่อมโยง
  • integration = บูรณาการ
  • factor = ปัจจัย
  • transform = แปรรูป



ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการนำเสนอ
  • ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • ทักษะการคิด
การนำมาประยุกต์ใช้
  • นำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต
บรรยากาศในห้องเรียน
  • บรรยากาศไม่เครียดมาก สอนเป็นกันเอง
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง
  • นำเสนอแผนการสอน ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน                   
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน



การบันทึกครั้งที่ 16

                                                        วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

              กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์พูดถึงการเรียนการสอนแบบการบรูณาการ STEM คือการทำคลิปวิดีโอ ขวดน้ำนักขนของ ที่ลงYoutube และอาจารย์ให้โจทย์มาว่าของเล่นที่แต่ละกลุ่มประดิษฐ์ขึ้นมานั้นสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้อะไรบ้างและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เช่น ทำขวดน้ำนักขนของเพื่อส่งอาหารไปให้สัตว์ที่อยู่ในป่าลึก




ขวดน้ำนักขนของ
วิธีการสอน มีดังนี้
1. สังเกตอุปกรณ์ อุปกรณ์เหล่านี้มีอะไรบ้าง
2.ตั้งประเด็นปัญหา (ถ้าเราเข้าไปในป่าทึบไม่ได้เราจะส่งอาหารให้สัตว์ด้วยวิธีการไหนได้บ้าง)
3.เข้าสู่เนื้อหาที่เตรียมมาโดยการเปิด Youtube ขวดน้ำนักขนของ ให้เด็กดู
- ดูอุปกรณ์ (ทบทวนอุปกรณ์)
- ดูขั้นตอนในการทำ (ทบทวนขั้นตอน)
- สาธิตการทำ
- ให้เด็กออกมาหยิบอุปกรณ์ (โดยให้หัวหน้ากลุ่มออกมาหยิบ)
- ลงมือทำ
4. ครูตั้งสมมติฐานการเล่นจากสิ่งที่ประดิษฐ์
- เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- ทดลองเล่นของตนเอง ถ้าใครไปไกลแสดงว่ามีประสิทธิภาพ
5. สรุปหลักการทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งที่ประดิษฐ์



คำศัพท์ 
  • method = วิธีการ
  • Technology = เทคโนโลยี
  • artificial = ประดิษฐ์
  • Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
  • significant experience = ประสบการณ์สำคัญ





การนำมาประยุกต์ใช้
  • ปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต
บรรยากาศในห้องเรียน
  • บรรยากาศดี ไม่เครียด นักศึกษาร่วมกันทำงาน
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน



การบันทึกครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
            อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนตามแบบของกลุ่มตนเอง ตามวันที่เเต่ละกลุ่มได้


วันจันทร์ หน่วยผลไม้ (ชนิดของผลไม้)
ขั้นนำ คือ คำคล้องจองผลไม้ ซึ่งแสดงให้เด็กเห็นว่าผลไม้นั้นมีมากมากหลากหลายชนิด
ขั้นสอน คือ นำผลไม้ของจริงมาให้เด็กสังเกตว่าผลไม้แต่ละชนิดมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งสามารถบรูณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้  โดยการสังเกตและจำแนกหมวดหมู่ของผลไม้ว่าเป็นผลรวมหรือผลเดี่ยว (เกณฑ์ที่ใช้คือผลรวม ที่เหลือคือไม่ใช่ผลรวม)








 วันอังคาร หน่วยไข่ (ลักษณะของไข่)
ขั้นนำ คือ เกมต่อจิ๊กซอว์เป็นรูปไข่
ขั้นสอน คือ ให้เด็กๆสังเกตลักษณะของไข่แต่ละชนิดและนำมาเปรียบเทียบกันว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
และให้เด็กรู้จักส่วนประกอบของไข่และนำมาเขียนลงตารางวิเคราะห์









วันพุธ หน่วยต้นไม้ (ปัจจัยการเจริญเติบโตของต้นไม้)
ขั้นนำ คือ คำคล้องจองต้นไม้
ขั้นสอน คือ การปลูกต้นถั่วงอก ให้เด็กลงมือทำด้วยตนเองและสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น







วันพฤหัสบดี หน่วยปลา (คุ้กกิ้งปลาทอดกรอบ)
กลุ่มนี้จะแตกต่างจากกลุ่มอื่นเพราะเป็นกิจกรรมคุ้กกิ้งเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติในการเข้าฐานแต่ละฐาน โดยในแต่ละฐานจะมีกิจกรรมให้เด็กทำไม่ซ้ำกัน โดยให้เด็กวนทำจนครบ เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับทุกขั้นตอน
ฐานที่ 1 เป็นการตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามแบบ
ฐานที่ 2 เป็นการหั่นเนื้อปลาเป็น 2 ส่วน
ฐานที่ 3 เป็นการนำเนื้อปลาที่หั่นแล้วไปชุบแป้ง
ฐานที่ 4 เป็นการทอดปลา (ฐานนี้เด็กจะได้บรูณาการวิทยาศาสตร์โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อปลา)













คำศัพท์ 
  • Teaching plan = แผนการสอน
  • objective = วัตถุประสงค์
  • integration = บูรณาการ
  • Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
  • significant experience = ประสบการณ์สำคัญ




ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • ทักษะการปฏิบัติ ลงมือทำ
การนำมาประยุกต์ใช้
  • นำไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • บรรยกาศสนุก ทุกคนร่วมกันทำกิจกรรม
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง
  • ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ                  
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน